เมื่อวันนั้นของรือเสาะ
                  คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่าเมื่อ 40-50 ปีก่อน  รือเสาะมีความเจริญทางเศรษฐกิจรุ่งเรืองสูงสุดเพราะมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกและ
ปลอดภัย คือทางรถไฟ การเดินทางสมัยนั้นนอกจากทางรถไฟแล้ว ก็มีการเดินทางเท้าโดยใช้ช้างเป็นหลัก รือเสาะในสมัยนั้นถือได้ว่าเป็นศูนย์กลาง ทางการค้าและการคมนาคมขนส่งมีสินค้าขาเข้าที่สำคัญ  คือ เครื่องอุปโภคบริโภคของใช้ประจำวัน วัสดุก่อสร้าง   และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ   ส่วนสินค้าออกหลักคือ ยางพารา  ไม้  เครื่องเทศ  และของป่าต่างๆ อาทิเช่น  งาช้าง

                  สมัยนั้นรือเสาะเป็นแหล่งขุดทองของผู้คนจากต่างถิ่น  มีชาวจีนอพยพเข้ามาอาศัยและทำมาค้าขายในรือเสาะมากมาย ส่วนคนอีสาน ก็อพยพเข้ามาขายแรงงานเป็นลูกจ้างในสวนยางพาราจำนวนมาก

                  กล่าวกันว่าในสมัยนั้นขณะที่ยางพาราราคากิโลกรัมละ 20 บาท  แต่ทองคำมีราคาเพียงบาทละ 400 บาทเท่านั้นดังนั้นคนรือเสาะ
จึงมีฐานะทางเศรษฐกิจทีค่อนข้างดี  สำหรับศูนย์กลางทางการค้าอยู่บริเวณสี่แยกหน้าสถานีรถไฟ  ซึ่งยังคงมีอาคารที่ให้เห็นอยู่  เช่น โรงแรม
โกหยวน  ปัจจุบันเป็นร้านค้าตรงหัวมุมถนน (บริเวณสี่แยกหน้าสถานีรถไฟระหว่างถนนสารกิจตัดกับถนนอุปการวิถี1) โรงแรมโกเต็ก, โรงแรมกงหลี, บ้านหะยีมานคาน และร้านค้าบริเวณถนนอุปการวิถี1ตัดกับถนนสารกิจ ร้านค้าที่ยังคงเหลือให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ คือ ร้านลี้น่ำเฮง บริเวณสถานีขนถ่าย สินค้าในสมัยนั้นเรียกว่าสถานีช้างคือบริเวณใต้ต้นมะขาม ซึ่งอดีตเป็นจุดรวมของช้าง ซึ่งใช้เป็นพาหนะในการบรรทุกสินค้า ไปส่งตามกลุ่มบ้านต่างๆ
                   

                                     ใต้ต้นมะขาม อดีตสถานีช้าง

                

ร้านลี้น่ำเฮง                                              

                     
1  2  3  4  5 >>